ลิงค์สำรองที่นั่งเตรียมสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา

ลิงค์สำรองที่นั่งเตรียมสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา
ข้อมูลของท่านระบบจะส่งไปยังอีเมล์ของผมและจะรักษาไว้เป็นความลับ

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

โรงเรียนผ่านไม่ผ่านมาตรฐานใครรับผิดชอบบ้าง

หลังจากได้เขียนบันทึกเรื่อง “ต้นสังกัด ? ..ต้องประเมินภายในสถานศึกษาโดยด่วน” เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2554 แล้ว ปรากฏว่า อาจารย์ Nongnapat Printrakul ได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์สำหรับสถานศึกษามาก เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นเตือนให้ต้นสังกัดตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยอาจารย์มองว่า “สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับสถานศึกษาคือ ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน สำหรับปี 2554 ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณล้วนๆ จากต้นสังกัด หากไม่มีคะแนนจากต้นสังกัด ถือว่า ตัวบ่งชี้นนี้ คะแนนเป็น 0 จะส่งผลให้ ตัวบ่งชี้นี้มีคุณภาพระดับต้องปรับปรุง ส่งผลถึงการรับรองมาตรฐานคุณภาพของสถานศึกษา” โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของ สมศ. ในการ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘)” จะต้องมีผลการประเมิน ดังนี้



๑) มีผลรวมคะแนนการประเมินคุณภาพภายนอกระดับสถานศึกษา ตั้งแต่ ๘๐.๐๐ คะแนน ขึ้นไป
๒) มีตัวบ่งชี้อย่างน้อย ๑๐ ตัวบ่งชี ้ จากทั้งหมด ๑๒ ตัวบ่งชี ้ ที่มีระดับคุณภาพแต่ละตัวบ่งชี ้
ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป
๓) ต้องไม่มีตัวบ่งชี้ใดอยู่ในระดับคุณภาพควรปรับปรุง หรือ ต้องปรับปรุง




จากข้อคิดเห็นและข้อมูลจาก อาจารย์ Nongnapat Printrakul ผมเลยเสริมว่า
1) “ถ้าต้นสังกัดไม่ประเมินผลภายใน แล้วมีผลทำให้สถานศึกษาไม่ผ่าน(เพราะไม่มีคะแนนจากต้นสังกัด)...ผมคิดว่า ควรสำรองราชการ ผอ.เขตทันที อันเนื่องมาจากไม่ใส่ใจเรื่องนี้” และ
2) สภาพปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการประเมินภายนอกรอบที่สาม หากมีการไม่รับรอง โดยเฉพาะถ้าสถานศึกษาไม่ผ่านอันเนื่องมาจากตัวบ่งชี้ที่ 9 10 11 และ 12 ผมเชื่อว่า สมศ.น่าจะถูกฟ้องร้องแน่นอน คงมีการขึ้นศาลปกครอง เพราะเพิ่มตัวชี้วัดในลักษณะกระชั้นชิด ประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2553 แล้วเริ่มประเมินในเดือนมิถุนายน 2554 ผิดหลักการในการประเมิน(ที่จะต้องประกาศเกณฑ์ใดๆ ล่วงหน้า อย่างน้อยน่าจะ 1 ปี เพราะมีเงื่อนไขให้ดูผลงานย้อนหลังแต่ละตัวชี้วัด อย่างน้อย 1 ปี)

จากการเขียนเสริมใน 2 ข้อ ดังกล่าวข้างต้น มีสมาชิก 2-3 ท่าน chat ไปคุยกับผมว่า จะรุนแรงไปไหมถ้าจะต้องสำรองราชการ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ผมแจ้งไปว่า น่าจะเป็นเรื่องปกติ เพราะการไม่มีคะแนนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แสดงว่า ผอ.เขต หรือทีมงานของเขตพื้นที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งถ้าไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ แล้วจะทำหน้าที่อีกต่อไปทำไม เพราะเรื่องการประกันคุณภาพสถานศึกษาน่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของ สพท.แล้ว อีกทั้งจากบทเรียนในการประเมินรอบที่สองที่ผ่านมา พบว่า บางเขตพื้นที่มีโรงเรียนที่คุณภาพลดลงเมื่อเทียบกับการประเมินรอบที่หนึ่งถึง 40 % ของโรงเรียนทั้งหมด ซึ่งมีข้อมูลอย่างชัดเจนว่า สพท.ไม่จริงจังเท่าที่ควรในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา...จริง ๆ แล้ว ทันทีที่รัฐมนตรีประกาศ “มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรจะต้องประกาศด้วยว่า “ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของ สพท. คือ ร้อยละของสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน” พร้อม “กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95”...ถ้าเขตพื้นที่การศึกษาใดไม่ผ่านเกณฑ์ 95 % โดยไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้อย่างชัดเจน ทีมงานเขตพื้นที่ทั้งหมด ไม่ควรได้รับเงินเดือนขึ้นในรอบ 5 ปี และต้องย้ายสำรองราชการ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา เป็นการด่วน เพียงประกาศแค่นี้ ผมเชื่อว่า “คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและของประเทศไทย จะสูงขึ้นแบบคาดไม่ถึง”


สำหรับในประเด็นที่ 2) เรื่อง การฟ้องร้องต่อศาลปกครอง หากโรงเรียนไม่ผ่าน เพราะบกพร่องในตัวบ่งชี้ที่ 9-12 ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ใหม่ที่เกิดขึ้นในการประเมินรอบที่สามนี้ และถูกประกาศใช้อย่างกระชั้นชิดนั้น ผมคิดว่า เรื่องนี้ มีข้อสงสัยในเชิงหลักวิชา หลายประการ อาทิ

(1) ถ้าสถานศึกษาแห่งหนึ่งมุ่งมั่น ทุ่มเท จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร “ยึดหลักสูตรเป็นสำคัญ” พยายามปั้นเด็กให้มีคุณภาพเชิงวิชาการ(ตัวบ่งชี้ที่ 5) ให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ 8 ประการ และมีสมรรถนะ 5 ประการ ตามที่กำหนดในหลักสูตร พร้อมทั้งตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอทุกปีว่า โรงเรียนจัดการศึกษาได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หรือไม่ แล้ว พบว่า โรงเรียนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร สูงยิ่ง โดย โรงเรียนแห่งนี้ไม่สนใจที่จะมีอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์(โดดเด่น)ในเรื่องใด ๆ หรือไม่อยากเด่นเหนือใคร(หรืออีกนัยหนึ่ง คือไม่สนใจตัวบ่งชี้ที่ 9 และ 10) และโรงเรียนแห่งนี้ก็ไม่มีโครงการพิเศษใด ๆ เพื่อเสริมบทบาทของสถานศึกษา(ตัวบ่งชี้ที่ 11) โรงเรียนแห่งนี้ เลยบกพร่องไป 3 ตัวบ่งชี้ ไม่ผ่านการรับรอง...คำถาม คือ โรงเรียนผิดหรือที่ดำเนินงานเพียงมุ่งมั่นให้เด็กบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและจุดเน้นของหลักสูตร แล้วไม่ทะเยอทะยานเพื่อเหนือโรงเรียนอื่นๆ(สมศ.อยากให้โรงเรียนโดดเด่น โด่งดัง...แต่โรงเรียนไม่อยากดัง)


(2) การประกาศกติกาในการประกันคุณภาพ ระยะกระชั้นชิด ไม่ถึง 1 ปี แล้วทำการประเมินโรงเรียน ในกรณีของตัวบ่งชี้ที่ 1-7 ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเป็นตัวบ่งชี้เดิม ๆ หรือ ตัวที่ 8 ก็ไม่น่าจะมีปัญหาเช่นกัน เพราะมีข้อกำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาที่โรงเรียนหรือต้นสังกัดต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ปัญหาน่าจะอยู่ที่ตัวบ่งชี้ที่ 9-12 ซึ่งเป็นตัวใหม่ การประกาศในระยะกระชั้นชิด(ซึ่งไม่เหมาะสมในแง่หลักวิชา) หากมีผลทำให้โรงเรียนไม่ผ่านเพราะตัวบ่งชี้เหล่านี้ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนที่ต้องกู้เงินมาลงทุน การประกาศไม่รับรองมาตรฐานจะมีผลทำให้โรงเรียนเสียหายหรือหายนะได้ การฟ้องร้องจึงเป็นทางออกของโรงเรียนในกรณีนี้ จริง ๆ แล้ว ในการประเมินรอบที่สาม น่าจะตัดสินผ่าน-ไม่ผ่านกันที่ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ส่วนตัวบ่งชี้อัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริม น่าจะนำไปใช้ในลักษณะของ การประกาศเกียรติคุณโรงเรียน ซึ่ง บางโรงเรียนอาจจะผ่านการรับรองและได้รับการประกาศเกียรติคุณในหลาย ๆ ด้าน(ตัวบ่งชี้ที่ 9-12) ในขณะที่บางโรงเรียนผ่านการรับรองโดยไม่มีการประกาศเกียรติคุณด้านความโดดเด่นเฉพาะทางเลย ก็อาจเป็นได้

บทความ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | fantastic sams coupons